กิจกรรมเสวนาเชิงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวข้อ “Age of Crypto” (2560)
หลักการและเหตุผล
- ระหว่างปิดภาคการศึกษา 1/2559 ทางสำนักงานฯ จัดกิจกรรมสร้างเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่นักศึกษา เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษา คณะวิศวกรรรมศาสตร์จากหลายสาขาวิชา ได้เรียนรู้ระบบการทำงานและกระบวนการผลิตของโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม และเพื่อเป็นแนวทางในการเตรียมความพร้อมก่อนการเข้าทำงานจริงในอนาคต
- สำนักงานฯ นำนักศึกษาเข้าศึกษาดูงาน ณ โรงไฟฟ้าวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และรับฟังการบรรยายจากวิทยากรเกี่ยวกับการดำเนินงานของโรงไฟฟ้า ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตไฟฟ้าโดยระบบพลังความร้อนร่วม (Combine Cycle) การทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า การทำงานร่วมกันของเครื่องกังหันแก๊สและเครื่องกังหัน
ไอน้ำ กำลังและประสิทธิภาพของการผลิตไฟฟ้า การจัดการสิ่งแวดล้อมภายในโรงไฟฟ้า รวมทั้งเข้าเยี่ยมชมการควบคุมการผลิตไฟฟ้าและเครื่องจักรต่างๆ ภายในโรงไฟฟ้า
วัตถุประสงค์
- เพื่อเรียนรู้กระบวนการผลิตไฟฟ้าแบบพลังความร้อนร่วม
- เพื่อส่งเสริมประสบการณ์ และการเรียนรู้นอกห้องเรียนให้แก่นักศึกษาผู้มีความสามารถพิเศษ
กลุ่มเป้าหมาย
- นักศึกษาในความดูแลของสำนักงานการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ รุ่นที่ 1 – 3 จำนวน 23 คน
- อาจารย์และเจ้าหน้าที่ จำนวน 4 คน
ผู้รับผิดชอบโครงการ
คณะทำงานผู้ดูแลโครงการ
- ผศ. ดร.วิมลศิริ ปรีดาสวัสดิ์ รักษาการผู้อำนวยการ GEO
- นางสาวทับทิม ภัทรธานนท์ ผู้ช่วยนักวิจัย GEO
- นางสาวจิตา อัศวภูษิตกุล ผู้ช่วยนักวิจัย GEO
- นายสุทธิเกียรติ อิ่นคำมี นักพัฒนาการศึกษา GEO
คณะนักศึกษาผู้ประสานงานดำเนินกิจกรรม
- นายพิชญุตม์ ศิริพิศ นักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ชั้นปีที่ 2
- นายกนกพันธ์ ธนันไชย นักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ชั้นปีที่ 3
- นายปิยวัฒน์ สุวรรณกรกิจ นักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมโยธา ชั้นปีที่ 2
- นายณัฐพัชร์ ชววิวรรธน์ นักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล ชั้นปีที่ 2
- นางสาวนริ ชลบุญญาเดช นักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล ชั้นปีที่ 1
ระยะเวลาดำเนินการ
- วันจันทร์ที่ 23 มกราคม 2560 เวลา 13.30 – 16.30 น.
สถานที่
- โห้องประชุมจำรัส ฉายะพงศ์ ชั้น 2 อาคารเรียนรวม 2 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
การดำเนินงาน
- สำนักงานฯ สอบถามนักศึกษาในความดูแลถึงกิจกรรมที่สร้างแรงบันดาลใจและเปิดมุมมองใหม่ๆเกี่ยวกับเทคโนโลยีให้แก่นักศึกษา พบว่านักศึกษามีความสนใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีการเข้ารหัส ดังนั้นสำนักงานฯ จึงทำการประสานงาน และนำวิทยากรมาจัดกิจกรรมเสวนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในหัวข้อที่ชื่อว่า Age of Crypto
สรุปผลการดำเนินงาน
- นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมเสวนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในหัวข้อ Age of Crypto จำนวน 85 คน จากจำนวนที่ลงทะเบียนทั้งหมด 146 คน พร้อมทั้งให้แสดงความคิดเห็นผ่านแบบสอบถามหลังจากเข้าร่วมกิจกรรม พบว่า นักศึกษาได้เปิดมุมมองใหม่ๆเกี่ยวกับเทคโนโลยีการเข้ารหัส และได้รับความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับประวัติความเป็นมา ประเภท และประโยชน์ของเทคโนโลยีการเข้ารหัส นอกจากนี้นักศึกษายังได้ร่วมแสดงความคิดเห็นกับวิทยากรเกี่ยวกับเทคโนโลยีการเข้ารหัส ว่าเป็นเทคโนโลยีที่มีความสำคัญเพียงพอต่อการปฏิวัติการใช้ชีวิตในปัจจุบันหรือไม่ และการทำกิจกรรมเสวนาในครั้งนี้ยังทำให้สำนักงานฯ เป็นที่รู้จักภายในมหาวิทยาลัยมากยิ่งขึ้น