กิจกรรมปฏิบัติการเชิงค่ายอาสาและการเรียนรู้ Science Content in Social Context Camp
(SCSC Camp) ณ บ้านป่าเหมี้ยง จังหวัดลำปาง
(2560)
หลักการและเหตุผล
- นักศึกษาในความดูแลของ GEO ทั้งหมดเป็นผู้ที่มีความสามารถทางวิชาการยอดเยี่ยม แต่ยังขาดความเข้าใจในปัญหารากฐานของประเทศและขาดประสบการณ์การลงพื้นที่จริง ทางสำนักงานฯ จึงเล็งเห็นว่าการให้โอกาสนักศึกษาเรียนรู้ความเป็นอยู่ของชุมชนซึ่งเป็นวิถีชีวิตส่วนใหญ่ของคนไทยมีความจำเป็นสำหรับนักศึกษาที่จะก้าวไปเป็นผู้นำในสังคม หลังจากจบการศึกษา ทั้งนี้ สำนักงานฯ เดินทางสำรวจปัญหาชุมชนพร้อมกับเจ้าหน้าที่ มจธ. ประจำศูนย์ความร่วมมือ มทร.ล้านนา และ มจธ. เพื่อมูลนิธิโครงการหลวงและกิจกรรมวิชาการ พบว่ามีหลายปัญหาที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถเชิงเทคนิคไปประยุกต์ เช่น การบริหารจัดการของเสียภายในชุมชน จากการใช้ชีวิตประจำวันและจากกิจการโฮมสเตย์ เป็นต้น ทางสำนักงานจึงจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ผ่านการเข้าไปทำกิจกรรมกับชุมชนในพื้นที่บ้านป่าเหมี้ยง ร่วมกับการเข้าเยี่ยมชนโรงงานเซรามิกส์ โรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ และโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ภายในจังหวัดลำปาง เพื่อที่นักศึกษาจะได้นำความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาประยุกต์ในการแก้ปัญหา ทำกิจกรรมร่วมกับชุมชน พร้อมทั้งได้เพิ่มพูนความรู้ ในช่วงการปิดภาคการศึกษา 2559
- ทางสำนักงานฯ จึงได้ดำเนินการกลั่นกรองปัญหาจากนักศึกษาผู้เคยปฏิบัติงานผู้ช่วยสอน เพื่อนำร่องจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมการเป็นผู้ช่วยสอนและผู้ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ ให้กับนักศึกษาที่สนใจ ได้พัฒนาตนเอง มีความพร้อม ความมั่นใจ ทั้งด้านทักษะความรู้ ทักษะการสอน และการสังเกตพฤติกรรมและให้คำปรึกษากับนักศึกษา โดยได้เรียนเชิญวิทยากรจากภายนอก มาให้ความรู้และฝึกอบรมทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ ครั้งที่ 1ในวันที่ 11 – 12 มีนาคม 2560 ครั้งที่ 2 ในวันที่ 13 มิถุนายน – 15 มิถุนายน 2560 และครั้งที่ 3 ในวันที่ 2 – 4 กรกฎาคม 2560 ณ บ้านสวนทรายทอง จังหวัดสมุทรสงคราม
วัตถุประสงค์
- เพื่อเรียนรู้ความเป็นอยู่วิถีชีวิตและปัญหาของชุมชนในพื้นที่ห่างไกล
- เพื่อฝึกการประยุกต์ใช้ทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการแก้ปัญหาของชุมชน
- เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์และการเรียนรู้นอกห้องเรียน ผ่านการเข้าศึกษาดูงาน
กลุ่มเป้าหมาย
- นักศึกษาในความดูแลของ GEO รุ่นที่ 2 และ รุ่นที่ 3 จำนวน 39 คน
- อาจารย์และเจ้าหน้าที่ จำนวน 6 คน
ผู้รับผิดชอบโครงการ
คณะทำงานผู้ดูแลโครงการ
- ผศ. ดร.วิมลศิริ ปรีดาสวัสดิ์ รักษาการผู้อำนวยการ GEO
- นางสาวทับทิม ภัทรธานนท์ ผู้ช่วยนักวิจัย GEO
- นางสาวจิตา อัศวภูษิตกุล ผู้ช่วยนักวิจัย GEO
- นายสุทธิเกียรติ อิ่นคำมี นักพัฒนาการศึกษา GEO (กิจกรรม ครั้งที่ 1)
- นางสาวบัณฑิตา สมมูล นักบริหารงานทั่วไป GEO (กิจกรรม ครั้งที่ 2 และ 3)
คณะนักศึกษาผู้ประสานงานดำเนินกิจกรรม
- 1. นายจิรภัทร วิเศษเกษม ภาควิชาวิศวอุตสาหกรรม ชั้นปีที่ 3
- 2. นายพิชญุตม์ ศิริพิศ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ชั้นปีที่ 3
- 3. นางสาวนภัสสร อมรสุนทรสิริ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิเตอร์ ชั้นปีที่ 3
- 4. นายณัชพล จีระวัฒนา ภาควิชาคณิตศาสตร์ ชั้นปีที่ 3
- 5. นายณัฐนนท์ มนต์รัตน์ ภาควิชาคณิตศาสตร์ ชั้นปีที่ 3
- 6. นายภูริวัจน์ เตชะพกาพงษ์ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล ชั้นปีที่ 3
- 7. นางสาวกฤติยาภรณ์ คุณสุทธิ์ ภาควิชาวิศวกรรมเคมี ชั้นปีที่ 2
- 8. นางสาวพิชญา กุมารสิทธิ์ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล ชั้นปีที่ 2
- 9. นายณัชพล โหระกุล ภาควิชาวิศวกรรมเคมี ชั้นปีที่ 2
- 10. นายพิชัย ตรัสนิ่ม ภาควิชาวิศวกรรมเคมี ชั้นปีที่ 2
- 11. นายชูพงษ์ ลัยรัตน์ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ชั้นปีที่ 2
ระยะเวลาดำเนินการ
- วันที่ 1 – 7 มิถุนายน 2560
สถานที่
- ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงตีนตก ตำบลห้วยแก้ว อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่
- บ้านป่าเหมี้ยงและโรงเรียนบ้านป่าเหมี้ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง
- อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง
- โรงงานอินทราเซรามิค ตำบลพระบาท อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง
- บริษัท อีเอ โซล่า ลำปาง จำกัด ตำบลบ้านเอื้อม อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง
- โรงไฟฟ้าแม่เมาะ ตำบลแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง
การดำเนินงาน
- ทางสำนักงานฯ ร่วมกับเจ้าหน้าที่ มจธ. ประจำศูนย์ความร่วมมือ มทร.ล้านนา และ มจธ. เพื่อมูลนิธิโครงการหลวงและกิจกรรมวิชาการ ทำการสำรวจพื้นที่ ปัญหา และความต้องการของชุมชน ในวันที่ 4 – 6 กุมภาพันธ์ 2560 หลังจากนั้นจึงทำการสรุปการสำรวจ วางแผนการดำเนินกิจกรรม และจากการสำรวจมีหัวข้อที่จะมอบหมายให้นักศึกษาได้ร่วมกันรับผิดชอบ ทั้งหมด 2 หัวข้อคือ
1. การบำบัดน้ำเสียจากกระบวนการผลิตเมล็ดกาแฟ มอบหมายให้นักศึกษา 3 กลุ่มรับผิดชอบ
2. เตานึ่งก้อนเชื้อเห็ด มอบหมายให้นักศึกษา 3 กลุ่มรับผิดชอบ
สำนักงานฯ ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มทั้งหมด 6 กลุ่ม ตามหัวข้อดังกล่าว และให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มหาข้อมูลเบื้องต้น และนำเสนอความก้าวหน้าก่อนลงพื้นที่จริง เพื่อให้นักศึกษาเตรียมความพร้อม และเตรียมคำถามเพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติมกับชาวบ้านและเจ้าหน้าที่ มจธ. ประจำศูนย์ความร่วมมือฯ โดยสำนักงานฯ จัดประชุมเพื่อชี้แจงและรายงานความก้าวหน้า 3 ครั้งก่อนลงพื้นที่
สำนักงานฯ ได้นำนักศึกษาลงพื้นที่ ชุมชนบ้านป่าเหมี้ยง ในวันที่ 2 – 4 มิถุนายน 2560 เพื่อให้นักศึกษาได้หาข้อมูลของโครงการเพิ่มเติมจากชาวบ้านและเจ้าหน้าที่ ศึกษากระบวนการผลิตเมล็ดกาแฟ วิธีเก็บเหมี้ยง การแปรรูปเหมี้ยง และเรียนรู้วิถีชีวิตร่วมกับชาวบ้าน จากนั้นจึงให้นักศึกษาร่วมกันวางแผนหาแนวทางแก้ไขปัญหา และนำคืนข้อมูลแก่ชุมชน โดยผ่านการนำเสนอการแก้ปัญหาผ่าน Infographic ของปัญหาทั้งสองด้านให้แก่ผู้นำชุมชน ชาวบ้าน อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ มจธ. ประจำศูนย์ความร่วมมือฯ นอกจากนี้ทางสำนักงานฯ ได้ให้นักศึกษาร่วมกันทำกิจกรรมทดลองทางวิทยาศาสตร์ (Science Show) แก่นักเรียนโรงเรียนบ้านป่าเหมี้ยง เพื่อให้นักเรียนในพื้นที่ชุมชนห่างไกลได้เรียนรู้เพิ่มเติมด้านวิทยาศาสตร์อย่างสนุกสนาน และเพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกทักษะการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์กับนักเรียนระดับประถมศึกษา โดยใช้ภาษาที่สนุกและเข้าใจง่าย (Science Content in Social Context)
นอกจากนี้ สำนักงานฯ ได้จัดกิจกรรมทัศนศึกษาดูงาน โรงงานผลิตเซรามิค และโรงไฟฟ้า 2 แห่ง คือ โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ บริษัท อีเอ โซล่า ลำปาง จำกัด และโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ในวันที่ 5 – 7 มิถุนายน 2560 ซึ่งนักศึกษาได้เรียนรู้ระบบการทำงานภายในโรงงาน กระบวนการผลิตเครื่องเซรามิค และกระบวนการผลิตไฟฟ้า ทั้งจากแสงอาทิตย์และจากถ่านหิน
ผลการดำเนินงาน
- นักศึกษาผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้แสดงความคิดเห็นผ่านแบบสอบถามหลังจากเข้าร่วมกิจกรรมว่า นักศึกษาได้เรียนรู้ถึงวิถีชีวิตของชุมชน และเรียนรู้การปรับตัวเข้ากับธรรมชาติได้ รวมทั้งได้เรียนรู้การทำงานในการผลิตไฟฟ้า และความสำคัญของพลังงานทางเลือก ทั้งนี้ สำนักงานฯ ได้สังเกต การทำงานเป็นทีมของนักศึกษา พบว่า มีความร่วมมือกันและให้ความช่วยเหลือกัน มีทักษะการสื่อสารดีขึ้น