สํานักงานการศึกษาสําหรับผู้มีความสามารถพิเศษ (GEO) เชิญชวนนักศึกษามจธ. เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา ระบบการจัดการ หรือการออกแบบนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ด้านการจัดการขยะภายใน มจธ.
ช่วงเวลา | กิจกรรม |
---|---|
1 – 27 กุมภาพันธ์ 2560 | รับสมัครนักศึกษาเข้าร่วมประกวด KMUTT’ s Challenge(จับคู่ ลงชื่อผู้สมัคร และชื่อทีม ผ่าน Google form) |
3 มีนาคม 2560 | แนะนำข้อมูล และวิธีการจัดการของเสียภายใน มจธ. |
4 มีนาคม – 14 มีนาคม 2560 | นักศึกษาเลือกหัวข้อปัญหา นำเสนอในรูปแบบ Infographic |
15 มีนาคม 2560 | นักศึกษาส่งผลงาน Infographic มายังสำนักงาน |
19 และ 20 มีนาคม 2560 | นักศึกษานำเสนอแนวความคิดจาก Infographic เพื่อให้กรรมการ Comment และให้คะแนนรอบที่ 1 |
21 มีนาคม – 5 เมษายน 2560 | นักศึกษาดำเนินการทำ Prototype |
6 เมษายน 2560 | นักศึกษานำเสนอความก้าวหน้าการดำเนินงาน |
8 - 28 เมษายน 2560 | นักศึกษาปรับแก้ไขผลงาน |
30 เมษายน 2560 | นักศึกษานำเสนอผลงาน กรรมการให้คะแนนรอบที่ 2 และตัดสินการประกวดแข่งขัน |
ผู้เข้าประกวดแข่งขัน KMUTT’ s Challenge ตอน “Waste Management” ที่ได้คะแนนสูงสุด จำนวน 10 คน จะมีสิทธิ์ไปศึกษาดูงานต่างประเทศ สำนักงานฯ ร่วมกับสำนักงานกิจการต่างประเทศ ทำการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานในประเทศที่มีความก้าวหน้าด้านการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อมในช่วงเดือน พฤษภาคม – กรกฎาคม 2560 และเดินทางไปศึกษาดูงานในต่างประเทศในวันที่ 29 กรกฎาคม - 6 สิงหาคม 2560
ในปีการศึกษานี้มีนักศึกษาเข้าประกวด KMUTT’s Challenge จำนวน 29 ทีม ทีมละ 2 คน และมีเวลาในการสร้างสรรค์ผลงานเดือนมีนาคม – เมษายน พบว่าระยะเวลาที่สั้นทำให้นักศึกษาทำงานอย่างต่อเนื่องมากกว่าการให้ระยะเวลานานอย่างเช่นปีที่ผ่านมานักศึกษามีแนวความคิดที่หลากหลายทั้งในเชิงการจัดการ การสร้างนวัตกรรม และการสร้างแอปพลิเคชัน นักศึกษาได้พยายามหาข้อมูลเพื่อนำมาวางแผนการจัดการขยะภายใน มจธ. ออกแบบผลงานโดยการสร้าง Prototype และมีการวิเคราะห์ด้านการเงินเพิ่มเติม ในวันตัดสินผลงานทั้ง 12 ทีมนำเสนอผลงานของตัวเองได้อย่างดีเยี่ยม สามารถตอบคำถามกรรมการได้ชัดเจนอย่างเห็นได้ชัด และมีการนำแบบจำลอง (Prototype) มานำเสนอเพื่อให้เห็นกระนวนการทำงานชัดเจนขึ้น นอกจากนี้ยังให้นักศึกษานำเสนอ Infographic เป็นภาษาอังกฤษเป็นเวลา 2 นาที พบว่านักศึกษาใช้ภาษาอังกฤษในการนำเสนอและตอบคำถามได้ดี หลังจากรวบรวมคะแนน มีนักศึกษาที่ได้คะแนนสูงสุดจำนวน 5 ทีมที่ได้รับรางวัลศึกษาดูงานประเทศญี่ปุ่น คือ ทีมการทำอิฐมวลเบาจากโฟมและเศษซีเมนต์เหลือใช้ ทีมการนำความเย็นจากน้ำแข็งเหลือทิ้งมาใช้ประโยชน์ ทีมการนำขยะเศษอาหารมาปั่นเพื่อใช้เป็นปุ๋ยหรือน้ำหมัก ทีมสร้างถังขยะเพื่อแยกขวดพลาสติก Recycle และทีมการเปลี่ยนกล่องโฟมเป็นกล่องชานอ้อย
ในวันที่ 29 กรกฎาคม 2560 - 6 สิงหาคม 2560 พบว่านักศึกษาทั้ง 5 ทีม ได้ศึกษาความรู้ทางเทคโนโลยีที่ทันสมัยจากบริษัท สถาบัน และมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง ได้แก่
นอกจากนี้นักศึกษายังได้มีโอกาสศึกษาวัฒนธรรมจากการไปวัดต่างๆ ทั้งในเขต โตเกียว และเกียวโต ที่มีศิลปการก่อสร้างทั้งวัด พระพุทธรูป และสวนที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีความเชื่อที่หลากหลายทั้งการห้อยเครื่องราง การดื่มน้ำจากสายลำธารต้นน้ำที่จะทำให้การเรียน สุขภาพ และความรักเป็นไปในทางที่ดี การศึกษาดูงานครั้งนี้นักศึกษาได้ฝึกทักษะการใช้ชีวิตของนักศึกษา เนื่องจากให้นักศึกษาขึ้นรถสาธารณะด้วยตัวเองทั้งหมดซึ่งการเดินทางที่ญี่ปุ่นมีความซับซ้อน แต่นักศึกษาก็ให้ความร่วมมือและช่วยเหลือกันเป็นอย่างดี